อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่ตรงหน้าประตูชุมพล จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หล่อด้วยทองแดงร่มดํา ความสูง 1.85 เมตร น้ำหนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ความสูง 2.5 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้าท้าวสะเอวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ บริเวณฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง
ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า คุณหญิงโม ซึ่งเป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา ท่านให้สร้างวีรกรรมไว้ให้แก่ประเทศชาติเมื่อ ปีพ.ศ.2369 โดยท้าวสุรนารี สามารถรวบรวมชาวบ้านเข้าต่อสู้ สู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้มาตีกรุงเทพฯ เป็นผลสําเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่านชาวเมืองนครราชสีมาจึงได้พร้อมใจ กันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้น ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน ของทุกปี
ปราสาทหินพนมวัน นครราชสีมา หรือ โคราช ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ผู้เขียนมีโอกาสแอบไปเที่ยวอยู่ บ่อยๆ ในยามที่เกิดอาการเบื่อหน่าย อาจเป็นเพราะระยะทางไม่ห่างจากกรุงเทพฯมาก นักอีกทั้งการเดินทางก็สะดวกสบาย
แต่ด้วยความที่โคราชเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ กว้างขวาง มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งป่าเขา แม่น้ำลำธาร ตลอดจนวัดวาอาราม และโบราณสถานสำคัญๆ จึงทำในการเที่ยวแบบล่องลอยของผู้เขียนนี้ไม่ทั่วนครโคราช เลยสักครั้ง จะเว้นก็แต่ครั้งนี้ ที่ดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่ได้มาแบบตั้งใจไปให้ทั่ว เพราะเลือกแล้วที่จะมาชื่นชมความอลังการณ์ของปราสาทหินพนมวัน ซึ่งเป็นหนึ่งใน หลายปราสาทหินที่ปรากฏในไทย สิ่งเหล่านี้ถือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ขอมโบราณทิ้งให้ เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาเคยมีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่นัก
ระยะทางเพียง กิโลเมตร ไม่ไกลจากเมืองโคราชมากนัก ก็ถึงบ้านมะค่า ตำบล บ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมวันแล้ว ปราสาท หินแห่งนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย เป็นศิลปะแบบบาปวนสันนิษฐาน ว่าก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ จึงได้ สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบเรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “เทวาศรม” เป็น ศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้มีการบูรณะหลังจากหักพังไปมาก ทำให้เห็นซาก โบราณสถานเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจน เช่น ปรางค์จัตุรมุของค์ประธานหลัก ซึ่งหัน หน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่เบื้องหน้าและมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่าง อาคารทั้งสอง ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” สระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียก ว่า “สระเพลง” ซึ่งยังคงสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึงปัจจุบัน
ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมี ระเบียงคต สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ประตูทางเข้าเทวสถาน มีซุ้มประตูสลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอก ปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ ๓๐๐ เมตร มีร่องรอยของคู น้ำและเนินดิน
เรียกกันแต่เดิมว่า “เนินนางอรพิมพ์” หรือ “เนินอรพิม” นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “พลับพลาลงสรง” ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่นๆ ของ ประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนม วัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หรือผู้แทนพระองค์ที่ น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เพื่อถวายพระพุทธรูป พระชัยพุทธมหานาถ
และจากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำให้เรารู้ว่าปราสาทหิน พนมวันสร้างขึ้นเป็นจนเป็นยอดปราสาทโดยสมบูรณ์แต่ก็พังทลายแบบถล่มลงมาอย่าง รุนแรงทำให้ชิ้นส่วนรูปสลักที่มีอยู่ไม่มากนักกระทบกันจนแตกหัก เรือนยอดปราสาท แตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กจนยากที่จะซ่อม ส่วนหน้าบันก็มีหลงเหลือจนเกือบครบทุกด้าน มีทั้งที่ยังไม่เริ่มแกะสลักไปจนถึงแกะสลักเสร็จแล้ว
แม้ว่าก่อนมาจะยังคลางแคงใจต่อกระแสเสียงเล่าลือว่าเป็นปราสาทหินที่ สร้าง ไม่เสร็จจะซึมซับติดตามแต่แต่ปราสาทหินพนมวันตรงหน้า กลับทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าที่นี่ เป็นเมืองที่มีลมหายใจแห่งความหวังอบอวลอยู่ เท่าที่ได้สัมผัสเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ก็ สามารถสรุปได้ว่าจะสร้างเสร็จหรือไม่มันไม่สำคัญเลย เพราะหินและอิฐแต่ก้อนแต่ละ แผ่นที่มีเหลืออยู่นั้น ได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลังทราบถึงประวัติความเป็นมาต่างๆ ทั้งเรื่อง ของผู้คนที่เคยอยู่อาศัยในแถบนี้ รวมถึงภูมิปัญญา ความรอบรู้ และศิลปะวิทยาการ ต่างๆ มากมายเพียงพอแล้วค่ะ
ใครยังไม่เคยมาเที่ยวโบราณสถานในลักษณะนี้ แนะนำให้ลองมาดูค่ะ เที่ยวชม แล้วเชื่อว่าคุณจะทั้งหลงรักและหวงแหนโบราณสถานแบบนี้ สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทหินพนมวัน
– เป็นศาสนสถานที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ถูกสร้างในแบบศาสนาพราหมณ์ แต่มีการค้นพบพระพุทธรูป
– แผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ใน ศิลปะร่วมแบบบาปวน
– การก่อสร้างลำบากเพราะแถบนี้ไม่มีภูเขาหินทราย จึงต้องไปเอาหินทรายมา จากที่ไกลแล้วขนมา จึงใช้หินทรายแดงที่มีคุณภาพต่ำผสมกับหินทรายสีขาวเทาเพราะ แหล่งวัตถุดิบที่ใกล้สุดมีหินทรายทั้งสองสีผสมกัน
การเดินทาง เส้นทางที่ง่ายที่สุดในการไปยังปราสาทหินพนมวัน คือเริ่มจากหน้า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ไปทาง ต.จอหอ ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพหรือถนนสุร นารายณ์ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขับต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น ข้ามสะพานสูงต่อไปอีกรวมช่วงนี้ 7 กิโลเมตร
เมื่อถึงแยกสัญญาณไฟจราจร จะมีป้าย บอกว่า “วัดหนองบัว วัดหนองจอก วัดพนมวัน” อยู่ด้านขวา ให้เลี้ยวขวาเข้าไปตามทาง อีกประมาณ 5 กิโลเมตรจะถึงวัดพนมวัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ปราสาทหินพนมวัน
วัดศาลาทอง
เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวทะเล ต.หัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดศาลาทอง เป็นวัดธรรมยุติเก่าแก่
ตั้งอยู่บนเนิน เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางเลไลย์ทำจากหิน ต่อมาจึงได้สร้างอุโบสถครอบไว้ในวัดนี้เดิมมีพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งอันเชิญมาจากเชียงตุง 4 องค์ ต่อมาอีก 2 องค์ ถูกอันเชิญไปบรรจุเจดีย์ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ เหลือเพียง 2 องค์
จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ ในทุก ๆ ปี จะมีเทศกาลตรุษสงกรานต์ได้มีพิธีไหว้พระพุทธรูปเป็นประจำปี
วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร
วัดพระนารายณ์มหาราช หรือที่ชาวเมืองนครราชสีมา เรียกว่า วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกลับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ
แล้วเรียกชื่อวัดอื่น ๆ ตามที่ตั้งอยู่ทิศต่าง ๆ ตามชื่อทิศ เช่น วัดบูรพ์(บูรพา) วัดอิสาน วัดพายัพ และวัดบึง วัดสระแก้ว รวม 6 วัด ที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง โดยถือเอาวัดพระนารายณ์เป็นจุดศูนย์กลาง
วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้าง ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเศกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวย ราชสมบัติ
เคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้
ในปัจจุบันวัดพระนารยณ์ ยังมีศิลปะวัตถุุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยา และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด
พระวิหารหลวงและเทวรูปพระนารายณ์สี่กร จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด
วัดบ้านไร่
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2496 โดยเริ่มสร้างอุโบสถ มีชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จ ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนหรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย ปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนาและมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ
วัดบ้านไร่ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นสถานที่จำพรรษาของพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณเป็นจำนวนมาก ตรงหน้าปากทางเข้าวัดบ้านไร่ มีการตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นระเบียบสวยงาม พร้อมทั้งทำความสะอาดป้ายวัดบ้านไร่ด้วย ส่วนถนนหน้าโรง เรียนวัดบ้านไร่ เข้าไปในวัดบ้านไร่ ยังมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อในบ้างช่วง ครั้นมาถึงบริเวณหน้าวัดบ้านไร่ เข้าไปจะพบเห็นหน้าพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณที่สวยงาม และเพิ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชม ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ติดกับสระจระเข้ มีการตั้งร้านค้าขายของ ที่ได้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบไม่วุ่นวาย ท้ายวัดเป็นป่าละเมาะเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่ปลูกให้ร่มรื่น ส่วนข้างอุโบสถวัดบ้านไร่ และบริเวณโดยรอบอุโบสถ ถูกจัดแต่งเป็นสวนหย่อมเล็กๆ มีไม้ประดับงดงาม