ความสำคัญของวันฉัตรมงคล

KapookToday-CoronationDay-600x600

วันฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ พระแสงประจำรัชกาล ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติตามราชประเพณี (ความหมาย ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

พระราชพิธีฉัตรมงคล

พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูปโภคแต่เดิมมา ควรมี่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิ ตอน ๑ พระราชพิธีฉัตรมงคลซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ได้บรมราชาภิเษกอีกตอน ๑ พระราชพิธีทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล

ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน ๓ วัน วันแรกตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม เป็นงานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อุทิศถวายแด่พระบรมราชบุรพการี เป็นพิธีสงฆ์ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี

20140502-1399003013.39-5

วันที่ ๔ พฤษภาคม เริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น วันที่ ๕ พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล มีงานเลี้ยงพระและสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตอนเที่ยงทหารบก ทหารเรือยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด ในวันนี้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานด้วย

ความเป็นมาพระราชพิธีฉัตรมงคล

ประวัติความเป็นมา พระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงกระทำพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี จึงถือว่าวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันมงคลสมัย พสกนิกรและรัฐจึงได้ร่วมกันจัดพระราชพิธีขึ้นเรียกว่า รัฐพิธีฉัตรมงคล บ้างก็เรียก พระราชพิธีฉัตรมงคล

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์

130152

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันฉัตรมงคล

พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวใน
สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์) และ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีีพระนามใน สูติบัตรว่า เมย์

ปี พ.ศ ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในปี พ.ศ ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยศักดิ์  เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ จ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายไปประทับที่เมื่อเซาท์บอลและบอสตัน ในปลายปีที่ประสูติได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อถึงพระนครสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีทรงพระราชทานตำหนักใหญ่  วังสระปทุม  ให้เป็นที่ประทับ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกปละพระชนนีไป ประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติรัฐบาลในสมัยนั้นเห็นพ้องต้องกันกราบบังคมทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลซึ่งมีพระมายุเพียง ๘ พรรษา และทรงอยู่ลำดับที่ ๑ ในการสืบราชสมบัติตามกฏมณเฑียรว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า “วิลลาวัฒนา” เมืองปุยยี  ซึ่งระหว่างนั้นสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อไป เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดได้เป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศ ในปี พ.ศ.๒๔๘๕  ทรงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ คณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมีทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในระหว่างนั้นทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ ในสาขาวิชาการศึกษาวรรณคดีปรัชญาและจิตวิทยา จึงทำให้ทรงมีความสนพระทัยทางด้านนี้

ในวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล จึงอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสวยราชย์ เป็นอันดับที่ ๙ แห่งราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเข้าสอนประจำในคณะอักษรศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งยังทรงเป็นองค์บรรยายพิเศษด้วย ได้ทรงจัดตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมารมพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนโครงการสอนการอ่านแก่เด็กเล็กและโครงการจัดส่งเยาวชนไทยไปแข่งขันโอลิมปิควิชาการด้วย

ทางด้านการสาธารณสุข ทรงเยี่ยมราษฏรพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ป่วย และผู้ยากไร้ทรงอุปถัมภ์ช่วยเหลืองานของมูลนิธิต่าง ๆ เช่น มูลนิธิไตแห่งประเทศไทย มูลนิธิขา  เทียมในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ทุนการกุศลสมเด็จย่า เป็นต้น นอกจากนี้ในเวลาว่างจะเสด็จเยือนต่างประเทศ ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุทรงพระนิพนธ์หนังสือถึง ๒๕ เรื่อง เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ๑๑ เรื่อง พระนิพนธ์แปล ๓ เรื่อง สารคดีท่องเที่ยว ๑๐ เรื่อง บทความวิชาการ ๑ เรื่อง

ด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าต่างกรม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ ๒๕๓๘

chat4

ความสำคัญ
วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า “ปัญจมหานที” แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร

พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง

เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี

การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำดิว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่อธิบายใหฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัวได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาลสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน

101945

การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน
ในขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง

maxresdefault

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน