พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถสนพระราชหฤทัยในด้านการศึกษา และทรงยึดมั่นในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” สติปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการอ่านหนังสือ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการ
ที่พระราชทานแกพสกนิกรชาวไทยนั้นประกอบด้วย ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น พระราชทานทุนการศึกษาแกนักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียน พระราชทานอุปกรณ์การเรียน ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน เป็นต้น ด้านการศึกษานอกโรงเรียน เช่น ทรงสอนหนังสือชาวบ้าน ทรงสร้างศาลาร่วมใจ ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนางานศิลปาชีพ นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และทรงรับมูลนิธิแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น
ทรงเป็นครูที่ดี
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือมาก ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ได้ถ่ายทอดมายังพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ นอกจากจะโปรดการอ่านแล้วยังโปรดการเป็นครูด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดการเป็นครูมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงเล่นเป็นครูและนักเรียนกับเด็กที่บ้าน ทรงมีวิธีการสอนที่สนุก เด็กๆ ในบ้านจึงชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์ เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์ ทรงสอนให้พับกระดาษ เขียนรูป และทำการฝีมือต่าง ๆ ก่อนเข้าบรรทมทรงอ่านหนังสือหรือทรงเล่านิทานพระราชทาน และทรงซื้อหนังสือพระราชทานด้วย ซึ่งมีทั้งวรรณคดี ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พุทธศาสนา ฯลฯ
เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ขณะที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากเสด็จเยี่ยมราษฎรแล้ว ทรงใช้ศาลาริมหาดปราณบุรี ประทับสอนหนังสือราษฎรด้วยพระองค์เอง ทรงทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นครูน้อยช่วยสอน หนังสือด้วย ทรงวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ โดยจัดครูสอนเป็นกลุ่ม ๆ ตามความรู้พื้นฐานของผู้เรียน และพระราชทานหนังสือเรียนให้ ซึ่งมีทั้งหนังสือเรียนตามระดับชั้น หนังสืออ่านประกอบ และหนังสือความรู้ทั่วไปสำหรับเด็กโต เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก ประวัติศาสตร์
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถจะใช้วิธีสอนแบบตัวต่อตัวบ้าง เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ๒-๓ คนบ้าง ทรงทดลองความรู้พื้นฐานของผู้เรียนโดยการซักถาม ให้อ่านหนังสือถวาย แล้วจึงเริ่มเรียนแล้วหัดอ่านจากผู้ช่วยต่อไป ทรงมีบันทึกรายชื่อนักเรียน ผลการเรียนและทรงติดตามความก้าวหน้าในการเรียนอย่างใกล้ชิด ถ้าใครเรียนดีก็จะพระราชทานรางวัลให้วิธีการสอนของพระองค์นอกจากจะมุ่งให้ เด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว ยังทรงแทรกความรู้ทางพุทธศาสนา จริยธรรม สุขภาพอนามัย และความรักชาติรักแผ่นดินเกิดด้วย นับเป็นแบบอย่างที่ดีของครู เพราะนอกจากจะทรงสอนวิชาการแล้ว ยังทรงอบรมให้เป็นคนดีด้วย
ทรงเป็นนักการศึกษา
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมิได้ศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง แต่พระราชดำริที่พระราชทานในเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการศิลปาชีพ หรือศาลารวมใจล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณด้านการจัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ศาลารวมใจ ที่พระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ นั้น คือโครงการที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาสากลว่า การศึกษาคือชีวิต ประชาชนควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะแต่ในโรงเรียนเท่านั้น
พระบรมราชินูปภัมภ์ด้านการศึกษา
โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๑ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกเป็นเงิน ๑๓,๕๐๐ บาท ในการสร้างโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๑ สำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายา พ.ศ. ๒๕๐๕ ทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๒ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่โรงเรียนชายแดนสงเคราะห์ ๑๔ ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเสด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารเมื่อ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๒” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนนี้หลายครั้ง โรงเรียนได้โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓
พระบรมราชินูปภัมภ์ด้านการศึกษา
โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๑ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกเป็นเงิน ๑๓,๕๐๐ บาท ในการสร้างโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๑ สำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายา พ.ศ. ๒๕๐๕ ทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๒ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่โรงเรียนชายแดนสงเคราะห์ ๑๔ ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเสด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารเมื่อ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๒” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนนี้หลายครั้ง โรงเรียนได้โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓
นักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับนักเรียนยากจนขาดโอกาสทางการศึกษาที่ทรงพบด้วยพระองค์ เองระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เกือบสองพันคน มีพระราชเสาวนีย์ให้กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถติดตาม ดูแลความประพฤติ และความเป็นอยู่ของนักเรียนนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนเหล่านี้อย่างใกล้ชิด กองราชเลขานุการฯ มีหน้าที่จะต้องกราบยังคมทูลรายงานให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททุกเดือนนัก เรียนทุนจะมีแฟ้มประวัติประจำตัว มีข้อมูลบันทึกไว้ครบถ้วน เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว สถานศึกษา รูปถ่าย ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ผลการเรียน บัญชีค่าใช้จ่ายที่พระราชทาน จดหมายรายงานความเป็นอยู่ของรักเรียน ฯลฯ ทุนการศึกษานี้พระราชทานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุุขและสังคมสงเคราะห์
ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงรับฉันทานุมัติ เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า
“…ได้ทรงเลือกสรรประสบผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาทร่วมทุกข์ แบ่งเบาพระราชภาระในภายภาคหน้า…”
ในครั้งนั้น ใครจะคิดว่าพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น นอกจากการประกอบพระราชกรณียกิจ ที่เป็นพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี และพระราชกรณียกิจที่กำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยแล้วจะยังมีพระ ราชกรณียกิจอื่นที่มากพ้นล้นเหลือประมาณอีกด้วย แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ คนไทยก็ได้ประจักษ์ว่าพระราชกรณียกิจ ทั้งหลายทั้งปวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติมากมายสุดจะพรรณา นั้นทรงปฏิบัติด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยประชาชนและประเทศชาติบ้านเมือง ได้ทรงพระวิริยอุตสาหะไม่ท้อถอย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้านเมืองทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระต่าง ๆ มาโดยตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบทให้มีความรู้ มีงานมีรายได้ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุขอนามัย
เมื่อครั้งทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีใหม่ ๆ นั้น เมื่อ เกิดอุทกภัยวาตภัย และอัคคีภัยขึ้นที่จังหวัดใด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชบริพารฝ่ายในนำอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ไปแจกจ่าย ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยเหล่านั้นอย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑ ที่กรมประชาสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรเอกชนจัดขึ้น ณ ศาลาสันติธรรม เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
“ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเร่งรัดสร้างสรรค์ความเจริญ จำเป็นต้องตระหนักถึงผลทางสังคมอันจะเกิดขึ้นและเตรียมที่จะรับปัญหานั้นใน เรื่องนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดข้องและความผิดพลาด น่าจะศึกษาบทเรียนที่ประเทศต่าง ๆ ได้รับในระยะการพัฒนาการ ส่วนผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนผู้แทนและผู้สังเกตการณ์จากหน่วย งานหรือองค์กรสถานศึกษาต่าง ๆ นั้น ก็ควรจะ ประสานงานสอดคล้องต้องกันเพื่อพัฒนางานในด้านนั้นให้เกิดประโยชน์อันยิ่ง ใหญ่แก่ประชาชน ซึ่งเป็นกุศลบุญ ควรแก่การอนุโมทนา…”
พระราชดำรัสในเรื่องการสังคมสงเคราะห์เมื่อกว่าสี่สิบปีมาแล้วแสดงถึงความสน พระราชหฤทัยและความถี่ถ้วนรอบคอบในกิจการทั้งปวงที่หน่วยงานต่าง ๆ ควรจะต้องประสานงานกัน การศึกษาสังเกตการณ์ซึ่งได้ทรงถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การสังคมสงเคราะห์ในระยะต่อมาได้ทรงค่อย ๆ เปลี่ยนจากการที่ทรง “ให้” เป็นความพยายามให้ราฏรได้ช่วยตนเองด้านการตามแนวทางและวิธีการ โดยอาศัยความรู้ความสามารถที่ราฏรมีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่นแต่ได้ถูกทอด ทิ้งละลืม ให้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์
เมื่อมีการจัดตั้งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๐๓ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมหลายครั้ง ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานทุนทรัพย์ตั้ง “กองทุนเมตตา” ขึ้นเมื่อทรงทราบว่า คนบางคนแม้จะตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตด้วยความขยันแล้ว แต่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่ความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย จึงเดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ จนมีหนี้สินพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ยากที่จะปลดเปลื้องได้ เกิดความเดือดร้อน เป็นความทุกข์ของครอบครัวทับถมซับซ้อน ก่อให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ ความเก็บกดหรือการแก้ปัญหาในทางที่ผิดของเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวนั้น ๆ ความท้อแท้ที่จะ ศึกษาเล่าเรียน จนท้ายที่สุดกลายเป็นปัญหาของสังคม กองทุนเมตตาได้ขจัดปัดเป่าบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ที่เดือดร้อนได้ตามวัตถุ ประสงค์ในเวลานั้น นอกจากนี้ได้ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่งให้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็นทุนริเริ่มกองทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กเยาวชน เพื่อช่วยเหลือเด็กขาดแคลนให้มีโอกาสได้เล่าเรียน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกที่ควรกองทุนนี้ต่อมา ได้มีผู้สมทบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และขยายเป็นทุนอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันนี้อีกหลายทุน มีชื่อต่าง ๆ ได้ช่วยสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเมื่อเติบโตขึ้น นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์แก่สมาคม และมูลนิธิเพื่อการสังคมสงเคราะห์เป็นจำนวนมาก เช่น มูลนิธิช่วยเด็กปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น
โครงการในพระราชดำริ
ทรงริเริ่มโครงการหัตถกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎร เป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเขา เต่า จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๘ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลโท หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ราชคงรักษ์เป็นผู้ควบคุมโครงการ โดยทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านเขาเต่า หัดทอผ้าฝ้ายขาย เพื่อเป็นอาชีพเสริม
โดยช่วงระหว่างที่ประทับอยู่ณ พระราชวังไกลกังวล ทรงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ไปขอครูทอผ้าจากโรงงานทอผ้าบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี มาสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านเขาเต่า พร้อมทั้งสร้างกี่ทอผ้าขึ้นท้ายวังไกลกังวล ทรงส่งรถไปรับชาวบ้านมาหัดทอผ้า เริ่มจากการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งพระราชทานอาหารกลางวัน และค่าแรงแก่ผู้ทอ และโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์ช่วยกันดูแลเด็กเล็กลูกของราษฎร จนกระทั้งพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร จึงบ้ายกิจการไปอยู่ใต้ถุนศาลาวัดเขาเต่า โดยเจ้าอาวาสวัดเขาเต่าและครูใหญ่โรงเรียนเขาเต่า
ช่วยดูแลต่อ
ปัจจุบันโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกิจการของกรมการพัฒนา ชุมชน โดยพัฒนากรอำเภอหัวหิน เป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ มีการสอนการทอผ้า ย้อมสี ตัดเย็บ และสอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์
โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรก คือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่ จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิง ชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครังเรือนจะทอใช้กัน อยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะ ทรงใช้ผ้าที่พวกเข้าทอซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่าง มาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืน โดย ส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการหนึ่ง คือ โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านเกิดจากเมื่อปี ๒๕๔๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯเยี่ยมราษฎร ราษฎรใน ๕ หมู่บ้าน ได้ เข้ามาร้องไห้กับพระองค์ท่านแล้วบอกว่าอยู่ไม่ได้ แล้ว เพราะถูกรบกวนหนัก จนมีคนในตำบลตันหยงลิมอ ถูกตัดคอคามอเตอร์ไซด์ระหว่างไปกรีดยางตอนเช้ามืด ชาวบ้านบอกว่าเหตุการณ์อย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ชาวบ้านถามพระองค์ท่านว่าจะให้พวกฉันอยู่ที่นี่ หรือจะให้ไปจากที่นี่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถรับสั่งว่าในเมื่อเราอยู่ที่นี่ เราทำมาหากินที่นี่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แล้วจะอพยพไปที่ไหนกัน
พระองค์ท่านก็ทรงพระกรุณาบอกทหารให้ส่งคนมาช่วยฝึกอาวุธให้ ตามที่ชาวบ้านได้ ถวายฎีกา และรับสั่งว่าที่ให้ฝึกนั้นเพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันทรัพย์สินพี่น้องเรากันเอง ไม่ได้ มีเจตนาให้พวกเธอเที่ยวเอาปืนไปไล่ฆ่าใครต่อใครเขา ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ รับสั่งเสมอว่าผู้บริสุทธิ์มีสิทธิ์อยู่บนแผ่นดินนี้ มีทั้งพุทธ และมุสลิมไม่ได้ แยกเชื้อชาติศาสนา ใครขอมาก็ฝึกให้ ครูเองก็มาขอฝึก บอกว่าฝึกให้แต่ชาวบ้าน พวกครูยิ่งเสี่ยงอันตรายหนักเลย ฝึกลักษณะการรวมกลุ่มกัน ใช้อาวุธเข้าเวรยามในการรักษาหมู่บ้านซึ่งมีผลให้หมู่บ้านเกิดความปลอดภัย มากขึ้น ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดว่ามีกลุ่มคนต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดน เช่น มีการนำวิซีดีภำการตัดศีรษะไปแพร่ภาพในจังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็น
สิ่งที่น่าเป็นห่วง คนทำมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านหวาดกลัว และไม่อยากจะอยู่ในพื้นที่หากเราปล่อยเหตุการณ์ให้ลุกลามบานปลาย บ้านเมืองก็ จะแย่
โครงการฟาร์มตัวอย่าง
จากการฝึกอาวุธ ทุกคนก็ระวังตัวหมด ไปไหนก็ไม่กล้าไป เมื่อก่อนเคยขายของในเมือง ไปรับจ้างในเมือง ตอนนี้จะไปคนเดียวก็ไม่กล้า เลยมีรับสั่งว่าจะช่วยเขาอย่างไรในเรื่องการทำมาหากินจึงได้ เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อจะสร้างงานให้กับชาวบ้าน คนไหนไม่กล้าไปทำงานในเมืองก็มาทำในฟาร์มทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และก็มีการทำประมงในครัวเรือน วันใดไม่มีกับข้าวก็สามารถช้อนปลาเป็นอาหาร นอกจากนั้นมีการเลี้ยงแพะนม ที่มีโปรตีนสูง ให้จ้างคนเข้ามาทำงาน เพื่อจะสอนให้เรียนรู้การทำเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ เมื่อทำเป็นแล้วก็จะได้ นำกลับไปทำในพื้นที่ของตัวเอง ได้ ผลผลิตเหลือจากรับประทานก็นำมาขายให้ฟาร์มรับซื้อ
การจัดตั้งฟาร์มนั้นอยู่ใกล้ๆกับแหล่งชุมชนเพื่อที่เขาจะได้ มาทำงานง่ายๆอย่างในบางแห่งเป็นกลุ่มของไทยพุทธอาศัยอยู่ท่ามกลางกลุ่มไทย มุสลิม ผู้ไม่หวังดีก็ใช้วิธียุยงให้ราษฎรแตกสามัคคีกัน พระองค์ท่านทรงลงไปช่วย ๓๐ กว่าปี ช่วยให้เขาทำมาหากินได้ ทรงทำอย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่องน้ำ บางบ้านน่าสงสานมาก เพราะขุดขึ้นมาน้ำเป็นสนิม ดีที่ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จึงพอบรรเทาได้ บ้าง
พระองค์ท่านทรงยอมทำทุกอย่าง เหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อคนในชาติ ซึ่งเหมือนกับลูกของพระองค์ท่าน ไม่ว่าเดือดร้อนมีปัญหาอะไร เช่นโครงการปะการังเทียม อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ชาวบ้านร้องไห้ว่าทำมาหากินไม่ได้ เคยทำประมงอยู่ชายฝั่ง ตอนนี้ปลาไม่มีจากนั้นตี ๓ พระองค์ท่านเรียกประชุม ๒ ชั่วโมงว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ซึ่งมีสาเหตุจากอวนลากอวนรุน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี เสนอการกำหนดระยะของการทำประมง คือ ระยะ ๕ กิโลเมตรจากชายฝั่งใช้เครื่องมือตกปลาขนาดเล็ก ระยะ ๕ – ๑๐ กิโลเมตร ให้ประมงปั่นไฟ และระยะ ๑๐ – ๑๕ กิโลเมตร อวนลากอวนรุนดำเนินการ แล้วก็ทิ้งปะการังเทียมเพื่อป้องกันการใช้อวนที่ระยะผิดประเภทไปในตัว และให้ปลาได้ อาศัยปะการังเทียมนี้เป็นที่หลบยามลมพายุแรงๆหรือใช้ชั้ง คือทางมะพร้ามถ่วงด้วยปูนซีเมนต์เพื่อให้ปลาเกาะอยู่ชายฝั่ง
พระองค์ท่านรับสั่งว่าอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นก่อนเสด็จฯกลับ ซึ่งตอนนั้นเป็นวันที่ ๒๔ กันยายน พระองค์ท่านเสด็จฯกลับต้นตุลาคม ทุฝ่ายก็รีบดำเนินการ นี่คือการแก้ปัญหาให้ไทยมุสลิมโดยตรง ที่ปัตตานี ไม้แก่น สายบุรี หนองจิกอำเภอเมือง ปัตตานี จนถึงตากใบ นราธิวาสพอทิ้งไป ๖ เดือน ปลาก็มาวางไข่ ตอนนี้ปลาชุกมาก ชาวบ้านมีกินมีใช้ สามารถนำปลาไปขายได้ กฺโลกรัมละ ๒๐๐ – ๓๐๐ บาท นี่ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
จากหนังสือวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนพรรษา ๗๒ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีบทความของคุณหญิงทรงสุดา ยอดมณีเล่าถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงผ้าไทยเสด็จฯ ไปทั่วหล้า ไว้ว่า
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระราชหฤทัยในผ้าซิ่นที่ชาวบ้านนุ่งอยู่ครั้งทรงเสด็จไปเยี่ยยมราษฎร จังหวัดนครพนม และทรงจะจัดตั้งให้มีการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้าน พระองค์ท่านเสด็จฯไป ทรงเยี่ยมราษฎรในฉลองพระองค์ด้วยผ้าที่พวกชาวบ้านทอชาว บ้านต่างตกใจ ว่านี่หรือเป็นผ้าที่เขาทอกันเองจึงเป็นกำลังใจในการทอให้แก่ชาวบ้านมากยิ่งขึ้น
จากสมัยก่อนที่มีความคิดอยู่ว่า ผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ ใส่แล้วจะดูแก่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย พระองค์ท่านก็โปรดฯให้ตัดฉลองพระองค์ถวายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ทรงบ้าง ซึ่งปรากฏว่าก็งดงาม ปัจจุบันนี้แม้กระทั่งพระเจ้าหลานเธอฯ ก็ทรง เป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่ได้เหมือนอย่างที่คิดเอาไว้ แล้วก็เลยออกมาแพร่หลายมากมายเหมือนอย่างปัจจุบันนี้
พระองค์ท่านทรงสนับสนุนให้เขาทอมากขึ้น เปลี่ยนผืนให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นตั้งเป็นมูลนิธิแล้วเอาผ้าที่รับซื้อมาจากชาวบ้านออกเผยแพร่ให้คน รู้จัก ชักชวนให้ช่วยกันสนับสนุนฝีมือชาวบ้าน เป็นที่นิยมมาก สุภาพบุรุษ สุภาพสตรีทั้งหลาย ซื้อมาตัดใส่กัน แล้วก็แพร่หลายออกไปเรื่อยๆ ทรงใช้ช่างไทยในการตัดฉลองพระองค์ นอกเสียจากสมัยที่เสด็จฯ ต่างประเทศ อากาศหนาวต้องใช้เสื้อแบบตะวันตก ก็จะมีช่างชาวต่างประเทศมาช่วยออกแบบบ้าง แล้วอีกประการหนึ่งที่พระองค์ท่านทรงใช้ดีไซเนอร์ต่างประเทศบ้าง นอกจากที่จะให้เขาออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ที่จะเสด็จฯไปแล้ว อีกประการหนึ่งก็คือการที่ทรงให้ดีไซเนอร์ผู้นั้นได้มีโอกาสมาเลือกผ้าไหม ไทย แล้วก็เอาไปออกแบบตัดเย็บในห้องเสื้อของเขา ก็นับว่าเป็นการเผยแพร่ผ้าไทยให้ได้มีโอกาสไปอวดโฉมอยู่ที่นั่นให้เป็นที่ รู้จักกันมากขึ้น
การประกวดผ้าไหม จะมีดีไซเนอร์จากต่างประเทศขอเข้ามาชมมากขึ้นทุกปี อย่างเช่น มาดามฮานาเอะ มอริ หลายคนขอมาเพื่อที่จะมาสัมผัสกับผ้าด้วยตนเอง แล้วเขาก็ตื่นเต้น เอาไปตัดเย็บไว้ในห้องเสื้อของเขา พอลูกค้ามาเห็น ลูกค้าชอบใจก็จะสั่งตัด แล้วก็สั่งผ้าเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
พระองค์ท่านมิได้ทรงช่วยให้ชาวไร่ชาวนาไทยมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นหากทรงเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รู้จักประเทศไทยอย่างกว้างไกลในหลายๆ ด้าน ผ้าไหมไทยเป็นสิ่งสูงค่าที่ผู้คนชื่นชอบไปทั่วโลก ก็ด้วยพระบารมี
ขอบคุณที่มาจากเว็บ กระปุกดอทคอม