เรื่องราวน่ารู้วันตรุษจีน

094343p6n8s6ukfaf3muzu

สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มา คือ ในสมัยก่อนเหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

      ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่ 

– แต้จิ๋ว : ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่

– จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย

เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน

อื้ คำนี้ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊กลมๆ แป้งนิ่มๆ เคี้ยวง่าย กลืนง่าย ให้ความหมายมงคลอวยพรให้ชีวิตราบรื่นง่ายดายเหมือนขนมอี๊ที่ไหว้และรับประทาน

โหงวเส็กที้ง แปลว่า ขนม 5 สี อันได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ข้างพอง ถั่วเคลือบ น้ำตาล และฟักเชื่อม บางทีก็เรียกว่า “ขนมจันอับ”

ส้ม คนจีนเรียกว่า กา แต่ก็มีอีกคำหนึ่งเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่าดี (ส่วนมากนิยมไหว้ 4 ผล เพราะเลขสี่พ้องเสียงคำ “สี่” ที่แปลว่าดี)

โชคดี (ส่วนมากนิยมไหว้ 4 ผล เพราะเลขสี่พ้องเสียงคำ “สี่” ที่แปลว่าดี)

Chinese

ตำนานวันตรุษจีน

ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน

ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย

ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก

เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน

ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า “ตรุษจีน”

การไหว้เจ้าที่ในวันตรุษจีน

การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว

ในปีหนึ่งมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง เรียกว่า โป๊ยโจ่ย แปลว่า 8 เทศกาล ดังนี้

 ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 (เป็นการกำหนดวันทางจันทรคติของจีน) คือ ตรุษจีน เรียกว่า ง่วงตั้งโจ่ย

 ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า ง่วงเซียวโจ่ย

 ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า ไหว้เช็งเม้ง เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย

 ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า โหงวเหว่ยโจ่ย เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง

 ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีน เรียกว่า ตงง้วงโจ่ย

 ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า ตงชิวโจ่ย ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์

 ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า ไหว้ตังโจ่ย

 ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ ก๊วยนี้โจ่ย

นอกจากนี้บางบ้านยังมีการไหว้พิเศษ คือ การไหว้เทพยดาที่ตนเองเคารพนับถือ เช่น

 ไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดา ฟ้าดิน เรียกว่า ทีกงแซ หรือ ทีตี่แซ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน

 ไหว้อาเนี๊ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือวันที่ 19 เดือน 2 วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9

 ไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3

 ไหว้เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3

 ไหว้อาพั๊ว คือ การไหว้วันเกิดอาพั๊ว หรืออาพั๊วแซ ซึ่งอาพั๊ว หมายถึง พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี

 ไหว้เจ้าเตา คือ ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า ไหว้เจ๊าซิ้ง

1640

ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน

ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่

ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่า ๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่

 ไม่ร้องไห้

หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน

 แต่งกายสะอาด แต่ไม่ควรสระผม

          การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

 ปรึกษาชินแสเกี่ยวกับการเดินออกจากบ้าน

ตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมาก ๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคล

 บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก 

ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี

 ห้ามเข้าไปในห้องนอนคนอื่น

การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษถือเป็นโชคร้าย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก

 ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษ

เพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน

ChineseNewyearOffer

ของไหว้ตรุษจีน

อาหารไหว้ช่วงเช้า

ช่วงเช้า  เวลาประมาณ 07.00 – 08.00 น. ตอนเช้าชาวจีนจะนิยมไหว้สิงศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน และไหว้ปุ้งเท้า ซึ่งเป็นเทพท้องถิ่นที่คนทำมาค้าขายนิยมบูชา โดยจะไหว้ด้วยเนื้อสัตว์ 3 อย่าง หรือ ซาแซ  เช่น

หมู  มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
เป็ด  มีความหมายถึง ความสามารถอันหลากหลาย ความมั่งคั่ง ความมีมาก
ไก่   มีความหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยหงอนไก่ที่มีลักษณะเหมือนหมวกขุนนาง มีความหมายถึงความซื่อตรง
ขนมเข่ง  มีความหมายถึง การมีเพื่อนมาก

ChineseNewyear4 (1)

อาหารไหว้ช่วงสาย

ช่วงสาย เวลาประมาณ 09.00 น. ถึงก่อนเที่ยง จะเป็นการไหว้บรรพบุรุษและบรรพชน อาหารที่ไหว้มีดังนี้

อาหารคาว อาหารคาวต่าง ๆ มีความหมาย ดังต่อไปนี้

ลูกชิ้นปลา  หมายถึง ความเหลือกินเหลือใช้ ชีวิตราบรื่น
ผัดต้นกระเทียม  หมายถึง ความมั่งคั่ง มีเงินมีทองให้นับอยู่เสมอ
ผัดตับกับกุยช่าย  หมายถึง การมียศฐาบรรดาศักดิ์ ฐานะร่ำรวย
แกงจืด หมายถึง การให้ลูกหลานมีชีวิตราบรื่น
เป๋าฮื้อ หมายถึง ความเหลือกินเหลือใช้ มีไว้ให้ลูกหลาน
ผัดถั่วงอก หมายถึง ความงอกงาม เจริญรุ่งเรือง
เต้าหู้ หมายถึง การเจริญเติบโต บุญ ความสุข
สาหร่ายทะเล หมายถึง ความโชคดี ร่ำรวย

อาหารหวาน มีความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ซาลาเปา หมายถึง การห่อโชคลาภมาให้ลูกหลาน
ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเจริญงอกงาม
ขนมคัดท้อก้วย คือ ขนมไล้ถั่วต่าง ๆ ที่ทำเป็นลูกท้อ หมายถึง การอวยพรให้มีอายุยืนยาว
ขนมไข่ หมายถึง การเจริญเติบโต
ขนมอี๊ ทำจากแป้งกลม ๆ นวดแล้วเจือสีชมพู แล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ำตาล จะทำให้ เคี้ยวง่าย ขนมอิ๊จึงหมายถึงความราบรื่น
ขนมเทียน หมายถึง ความสว่างรุ่งเรือง

ขนมเข่ง
ชุดซาแซ คือ หมู เป็ด ไก่
ข้าวสวย พูนใส่ให้ครบตามจำนวนของบรรพบุรุษ
น้ำชา
ผลไม้ ผลไม้ต่าง ๆ ที่ไหว้ในวันตรุษจีนมีความหมายดังต่อไปนี้

ส้ม หมายถึง โชคลาภ วาสนา มีความหมายถึงโชคดี
กล้วย หมายถึง การมีลูกหลานมาก และเรียกโชคลาภเข้าบ้าน
แอปเปิ้ล หมายถึง การมีสุขภาพแข็งแรง และความสุขสงบ
สับปะรด หมายถึง การมองเห็นได้กว้างไกล
องุ่น หมายถึง ความมั่งคั่งและความแข็งแรง
สาลี่ หมายถึง เงินทองไหลมาเทมา

เครื่องกระดาษ มีความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

กระดาษเงินกระดาษทอง คนจีนเชื่อว่า เมื่อคนตายตายไปแล้ว ลูกหลานจะต้องส่งเงินทองไปให้เพื่อแสดงความกตัญญู และการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ก็ยังหมายถึงสิริมงคลที่จะเกิดกับลูกหลานอีกด้วย
กอจี๊ หรือ จี๊จุ๊ย หมายถึง กระดาษทองชิ้นใหญ่มีกระดาษแดงตัดเป็นตัวอักษรว่า เผ่งอัน หมายถึง ความโชคดี
กิมจั๊ว หมายถึง กระดาษเงินกระดาษทองที่ลูกหลานนำมาทำเป็นชุด พับเป็นรูปดอกไม้ก่อนไหว้
กิมเต้า หมายถึง ถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมเตี๊ยว หรือ แท่งทอง ใช้สำหรับไหว้คนตาย
อิมกังจัวยี่ หรือ แบงค์กงเต็ก ใช้สำหรับเบิกทางไปสู่สวรรค์ขอคนตาย

ChineseNewyear5
อาหารไหว้ช่วงบ่าย

ช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.00 – 15.00 น. จะเป็นการไหว้วิญญาณที่ไม่มีญาติ โดยประกอบไปด้วยเครื่องไหว้ดังนี้

อาหารคาว
อาหารหวาน
เครื่องกระดาษ

ChineseNewyear2

วันตรุษจีน เป็นการไหว้ในช่วงเช้าของวันที่ 1 ด้วยของเซ่นต่าง ๆ หลังจากนั้นจะให้ออกไปไหว้เจ้านอกบ้าน และไหว้บรรพบุรุษ เสร็จแล้วจะเดินทางไปเยี่ยมพี่น้อง โดยเครื่องไหว้ต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

ส้ม หมายถึง โชคดี
ของหวาน 5 อย่าง
ขนมจันอับ หมายถึง ความเจริญงอกงามดุจดังเมล็ดพืช

วันตรุษจีนนี้ ขอให้สมาชิกของสมาคมฯ ทุกท่าน มีความสุขสงบร่มเย็น พร้อมด้วยโชคลาภเงินทอง ตลอดปีนะคะ”