เรื่องราว – ข่าวสาร

ประวัติ และกิจกรรมวันจักรี

วันจักรี59

วันจักรี 6 เมษายน วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  และมหาจักรีบรมราชวงศ์  ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสืบทอดต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 (ร.1-4) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ จนกระทั่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ... Read More »

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

ปกปี-59

“มาฆะ”  เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป โอวาทปาฏิโมกข์ สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา ... Read More »

ประวัติวันวาเลนไทน์ และกิจกรรมวันวาเลนไทน์

30-valentine-day-gifts-8

วันแห่งความรัก วาเลนไทน์ (Valentine’s Day) 14  กุมภาพันธ์  ของทุกปี เป็น  วันวาเลนไทน์   วันแห่งความรัก  วันที่ทุกคนจะมอบความรักให้กันและกันเป็นพิเศษ ในปีนี้ 2559  วันวาเลนไทน์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ วันนี้สมาคมฯ จึงขอนำประวัติ ความเป็นมาของวันวาเลนไทน์ ที่จะถึงนี้มาฝากกันค่ะ… วันวาเลนไทน์   (Valentine’s Day)   มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์   จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด โดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ... Read More »

ประวัติ และความสำคัญวันตรุษจีน

ปก

 วันตรุษจีน 2559  หรือ ตรุษจีน 2016 ตรงกับวันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ และวันนี้เรามี บทความวันตรุษจีน 2559 มาฝาก ทั้ง ประวัติวันตรุษจีน วันไหว้ตรุษจีน 2559 วันเที่ยวตรุษจีน และวันจ่าย 2559 ตรงกับวันที่เท่าไร ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง  และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน  ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2559  วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ประวัติวันตรุษจีน           สำหรับที่มาของวันตรุษจีนนั้น  เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว  จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมทีไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราชจะเรียกว่า “ซุ่ย” ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1,000 กว่าปีก่อนคริสต์ศักราช  เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า  “เหนียน”  หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันชุงเจ๋” ซึ่งหมายถึงเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่  เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้  ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง ส่วนการกำหนดวันตรุษจีนนั้น  ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน ... Read More »

ประวัติความเป็นมาวันเด็ก และกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

วันเด็ก copy

ประวัติวันเด็กแห่งชาติ วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. ... Read More »

อุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์บูรพกษัตริย์ ๗ พระองค์

อุทยานราชภักดิ์

อุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์บูรพกษัตริย์  ๗  พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ โดยพระราชทานชื่อให้ว่า “อุทยานราชภักดิ์” ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่ ๑. พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย) ๒. สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา) ๓. สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา) ๔. สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี) ๕. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ๖. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ๗. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ กองทัพบกได้ดำเนินการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์  ภายในพื้นที่ของกองทัพบก  อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ  ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์  จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ  จำนวน  ๓  ส่วนหลัก  ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ :   ... Read More »

ประวัติ กิจกรรม และสัญลักษณ์วันแม่

baby3

 วันแม่แห่งชาติ  12 สิงหาคม  ของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ   Mother Day   ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ  ทุกคน  ควรรำลึกถึงพระคุณของแม่ ประวัติวันแม่แห่งชาติ   มีความเป็นมาอย่างไร สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ทำไมจึงใช้ดอกมะลิ   และคำขวัญวันเเม่ปีต่าง ๆ มีข้อความว่าอะไร   กิจกรรมต่าง ๆ   ที่ควรปฏิบัติในวันแม่มีอะไรบ้าง   วันนี้มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ  ประวัติวันแม่แห่งชาติ   แต่เดิมนั้น   วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้  วันที่  15  เมษายนของทุก ๆ ปี   ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง  เมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493   ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง   สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่   มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493   เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ... Read More »

ประเพณีสงกรานต์ กับสิ่งที่ควรปฏิบัติ

1 (1)_copy

ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือเทศกาลสงกรานต์นั้นเองค่ะ  ในวันนี้ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอกจากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้จึงได้นำกิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์ ที่เชื่อแน่ว่า หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้… 1. เครื่องนุ่งห่ม เพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน 2. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของที่จะทำขนมพิเศษ 2 อย่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ 3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง  เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้ สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง 4. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฎีที่อาศัยแล้วยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วย การทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์ การทำบุญในวันสงกรานต์อาจจะทำการตักบาตรทำบุญได้ 2 แห่ง คือ ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว ... Read More »