เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไม้เทนนิส

ไม้เทนนิสในท้องตลาดปัจจุบัน มีมากมายหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อต่างก็พยายามคิดค้นและนำเอาเทคโนโลยี่ที่ล้ำสมัยมาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ไม้ที่ให้ power และการควบคุมที่ดี และไม่ทำให้ผู้เล่นเกิดอาการบาดเจ็บ ซึ่งส่งผลให้เกมส์การเล่นเทนนิสในปัจจุบันเป็นเกมส์ที่รวดเร็วและรุนแรง (Power Game)

ก่อนที่คุณจะซื้อไม้เทนนิสสักอันหนึ่ง คุณควรจะเข้าใจถึงส่วนประกอบต่างๆ ของไม้เสียก่อน จะได้คุยกับผู้ขายและสามารถตัดสินใจซื้อไม้ได้ตามที่ต้องการ

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของไม้เทนนิส

6a659896

 

 

The Head and The Sweet Spot

คือพื้นที่ทั้งหมดภายในบริเวณหัวไม้หรือหน้าไม้ (Head) เป็นบริเวณที่ขึงด้วยเอ็น ซึ่งจะประกอบด้วย Sweet Spot เสมอ ส่วนที่เรียกว่า Sweet Spot นี้คือบริเวณที่เอ็นกระทบลูกแล้ว เอ็นที่ขึ้นนั้นสามารถสร้างแรงได้มากที่สุดโดยที่ผู้ตีออกแรงน้อยที่สุด และที่บริเวณนี้จะมีแรงสั่นสะเทือนน้อยที่สุด

ลักษณะของหน้าไม้มีหลายรูปทรง (Shape) และมีขนาด (Size) ต่างๆ ดังนี้

Over-sized

จะมีขนาดหน้าไม้ตั้งแต่ 100 – 140 ตารางนิ้ว ซึ่งมีผลให้ขนาดของ Sweet Spot ใหญ่ตามไปด้วย แม้ว่าลูกจะไม่โดนตรงกลาง Sweet Spot ลูกบอลที่สะท้อนออกไป ก็แรงพอที่จะข้ามเน็ตได้

Mid-sized

มีขนาดหน้าไม้ตั้งแต่ 85 – 100 ตารางนิ้ว นักเทนนิสอาชีพส่วนใหญ่จะใช้หน้าไม้ที่มีขนาด 85 – 95 ตารางนิ้ว สำหรับนักเทนนิสสมัครเล่นมักจะใช้หน้าไม้ที่มีขนาด 95 – 100 ตารางนิ้ว ไม้เทนนิส Mid-sized จะมี Sweet Spot ที่ใหญ่และในขณะเดียวกันด้วยขนาดที่ไม่เทอะทะ ก็ยังทำให้สามารถเร่งความเร็วของไม้ได้ในขณะตีลูกบอล

Standard-sized

มีขนาดหน้าไม้ตั้งแต่ 80 – 85 ตารางนิ้ว ปัจจุบันเรียกได้ว่าหมดยุคหน้าไม้ขนาด standard แล้ว เนื่องจากมี Sweet Spot ที่เล็ก ทำให้ตียากเมื่อเปรียบเทียบกับไม้ขนาดอื่น ผู้ที่จะใช้ไม้ขนาดนี้ได้ดีจะต้องมีความชำนาญและความแม่นยำสูง

The Beam

เรียกกันง่ายๆ ว่าขอบไม้ ยิ่งขอบไม้กว้าง ก็จะทำให้ไม้มีกำลังมาก (คือออกแรงตีน้อย แต่ลูกพุ่งไปแรงกว่าปกติ) เรียกว่า Trampoline Effect ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ยากต่อการควบคุมทิศทางของลูกบอล และผลที่ตามมาคือคุณจะตีเทนนิสยั้งๆ ไม่เต็มวงสวิง ปัจจุบันมีไม้ที่เรียกว่า Wide Body คือมีขนาดของ Beam ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งจะไม่แนะนำให้ผู้ที่เริ่มเล่นใหม่ๆ เพราะจะทำให้ไม่กล้าเร่งความเร็วของไม้และไม่มี Follow Through

The Throat and Shaft

คอไม้ที่ออกแบบให้มีช่องตรงกลาง (Open Throat) ทำให้มี Sweet Spot ใหญ่ขึ้นและกลายเป็นมาตรฐานของไม้ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ก่อนคอของไม้เทนนิสจะเป็นก้านทึบตรงๆ ไม่มีช่องตรงกลาง (Closed Throat) และจากการวิจัยพบว่า ในเวลาที่ลูกบอลไม่โดนกลาง Sweet Spot ไม้แบบ Open Throat จะมีความมั่นคงและสมดุลย์ที่ดีกว่าไม้แบบ Closed Throat
The Grip

ด้ามจับของไม้เทนนิสจะมีขนาดตั้งแต่ 4 นิ้วถึง 4-5/8 นิ้ว ส่วนใหญ่จะเรียกทับศัพท์ว่า “กริ๊ป” ควรเลือกกริ๊ปที่จับแล้วสบายมือคือไม่เล็กเกินไปและไม่ใหญ่จนเกินไป

The Butt Cap

ส้นไม้คือส่วนที่อยู่ปลายสุดของกริ๊ป ซึ่งจะไม่มีผลต่อการตี บริษัทผู้ผลิตไม้จะติด Logo ของไม้ไว้ที่ส่วนนี้ และก่อนทำกาแข่งขัน นักเทนนิสทั่วไปมักจะใช้ Logo นี้เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้เสิร์ฟก่อน

The Overall Length

ไม้ที่ยาวขึ้นจะช่วยเพิ่มพลังในการตีให้มากขึ้น โดยเพาะลูกเสิร์ฟ แต่ก็จะทำให้การควบคุมลูกยากขึ้นด้วย ผู้เล่นต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างมือตา (hand-eye Coordination) ที่ดี จึงจะตีลูกบอลให้ถูก Sweet Spot ทุกครั้ง

เทนนิสเป็นเกมส์ของการควบคุมและพลัง (Controlled Power) ดังนั้นนักเทนนิสมือใหม่ ควรจะใช้ไม้ที่มีความยาวมาตรฐาน (27 นิ้ว) ก่อน เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมลูก และเมื่อชำนาญดีแล้วก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้ไม้ที่มีขนาดยาวขึ้น (Long Body หรือ Stretch)

The Weight

น้ำหนักไม้เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกใช้ไม้ที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป หนักพอที่จะให้พลังในการตีลูก แต่ไม่ควรหนักจนเหวี่ยงไม้ไม่ไหวหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การใช้ไม้เบามากและขึ้นเอ็นตึง จะทำให้เจ็บข้อมือในเวลาตี Forehand ได้

ปัจจุบันไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อ มีตัวเลขชี้แนะ (Index หรือ Indicator) เพื่อให้ผู้ซื้อทราบถึงคุณสมบัติของไม้แต่ละรุ่น ว่าไม้รุ่นใดให้ Power หรือ Control มากน้อยอย่างไรและเหมาะสมกับ Style การตีแบบไหน เช่น ไม้ยี่ห้อ Wilson จะมี Speed Swing Index ส่วนไม้ยี่ห้อ Head จะใช้ว่า Swing Style Rating Chart เป็นต้น

ข้อแนะนำในการเลือกไม้เทนนิสให้เด็ก

การซื้อไม้เทนนิสให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดเล่นเทนนิส ไม่จำเป็นต้องซื้อไม้ที่มีราคาแพง แต่ให้พิจารณาจากอายุและส่วนสูงดังนี้
ใช้ส่วนสูงเป็นตัวกำหนดโดยประมาณ
สูงถึง 119 cm. — racket ขนาด 21″
119 – 137 cm. — racket ขนาด 23″
137 – 152 cm. — racket ขนาด 25″ – 26″
สูงเกิน 152 cm. — racket ขนาดมาตรฐาน
หรือจะใช้อายุเป็นเกณฑ์ก็ได้
5 ปี — racket ขนาด 21″
6 – 8 ปี — racket ขนาด 23″
9 – 12 ปี — racket ขนาด 25″ – 26″
13 ปี + — racket ขนาดมาตรฐาน

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไม้เทนนิส
ข้อมูลต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างส่วนต่างๆ ของไม้กับการควบคุม (Control) และกำลัง (Power)

ข้อเท็จจริง

1. ไม้เทนนิสที่หนัก (Racket Weigth) จะมี Sweet Spot ที่ใหญ่กว่าและให้ power ที่มากกว่า
2. ไม้เทนนิสที่มี Frame ใหญ่ (Frame Width) จะมี Sweet Spot ที่ใหญ่กว่าและให้ power ที่มากกว่า
3. ไม้เทนนิสที่มี Frame แข็งกว่า (Frame Stiffness) จะมี Sweet Spot ที่ใหญ่กว่าและให้ power ที่มากกว่า
4. ไม้เทนนิสที่มี Frame ใหญ่ (Frame Width) ถ้าตีไม่ถูก Sweet Spot จะพลิก (Twist) น้อยกว่าไม้เทนนิส Frame เล็ก
5. ไม้เทนนิสที่มี Frame แข็งกว่า (Frame Stiffness) แรงสั่นสะเทือน (Shock Load) จะถูกส่งมาที่แขนมากกว่า

 

น้ำหนักไม้ (Racket Weigth)

ไม้เทนนิสทั่วไปจะมีน้ำหนักระหว่าง 250 – 230 กรัม ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มดังนี้
Light (250 – 290 กรัม) เหมาะสำหรับนักเทนนิสที่หัดเล่นหรือเล่นในระดับสโมสร (Club Player)
โดยปกติความแข็งของ Frame (Frame Stiffness) จะอยู่ระหว่างปานกลางถึงแข็ง เพราะต้องการให้มี power มาก
Medium (291- 325 กรัม) เหมาะกับผู้เล่นที่มีวงสวิงเร็วปานกลางถึงเร็ว (Swing Index ประมาณ 4.5 – 6.0) ซึ่งจะให้การควบคุมที่ดีขึ้น
Heavy (มากกว่า 325 กรัม) เหมาะกับผู้เล่นในระดับแข่งขัน ซึ่งมีวงสวิงที่เร็วและต้องการการควบคุมที่ดี
โดยปกติไม้จะมี Frame เล็กและ Flexible มาก (ให้ power น้อย)
หมายเหตุ

น้ำหนักที่ระบุในตารางข้างบน เป็นน้ำหนักที่ขึ้นเอ็นแล้ว

น้ำหนักที่ปรากฏบนไม้เทนนิส โดยทั่วไปจะเขียนด้วยรูปแบบดังนี้ M4, L3, SL2 ตัวเลข 2, 3, และ 4 หมายถึงขนาดของด้ามจับ (Grip) ส่วนตัวหนังสือ M, L, SL หมายถึงน้ำหนักไม้ ซึ่งมีความหมายดังนี้ M=Medium, L=Light และ SL=Super Light

ทีมา : http://www.pyramidtennis.com/library/library.php?pid=98&lang=th